การจัดการความรู้

เรื่อง การดำเนินงานโครงการแม่บ้านสามห่วง

บ้านขวดน้ำมัน หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อภาค
อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

เจ้าขององค์ความรู้  นางสาวช่อเพชรรัดดา  ปานโท้  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ 07

วิธีทำ (ทำอย่างไร)

ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ “แม่บ้าน สามห่วง”

ขั้นตอนที่ ๑      เตรียมการ – ศึกษากรอบ แนวทาง/ กำหนด ขั้นตอน/ กำหนด หมู่บ้าน เป้าหมาย
ขั้นตอนที่ ๒ ศึกษาเลือกรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูล/เสนอกรอบแนวทาง/พัฒนาระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนที่ ๓ สร้างกระบวนการ (เตรียมความพร้อม ผู้นำแกนนำ/จนท. และภาคีกลไก)

– เสนอนายอำเภอออกคำสั่งคณะทำงานหน่วยงานภาคีช่วยสนับสนุน
-จัดประชุมสร้างความเข้าใจกำหนดแนวทางดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับภาคี
– จัดประชุม กพสม. แกนนำหมู่บ้านเป้าหมายสร้างความเข้าใจฯ
– จัดประชุมประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายพร้อมประเมินความสุข (ก่อน)ปรอทความสุขได้ระดับ 81 (ใยแมงมุม ๔.56)
-แกนนำ รับสมัครสมาชิก ปัจจุบัน 210 คน และตั้งคณะกรรมการ 9 คน บริหารงาน/ จัดทำเมนูความดีและนำเสนอเมนู/จัดทำทะเบียนสมาชิก/ทะเบียนกรรมการ/สมุด บันทึกความดีและอื่นๆ

ขั้นตอนที่ ๔ ขับเคลื่อนกิจกรรม
– งานศพงด เหล้า  -ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา ๑ ครั้ง
– ขับขี่ปลอดภัย – ริบกุญแจ กพสม. ร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน ตั้งจุดตรวจและตักเตือนผู้ที่เมาไม่ให้ขับรถ 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2557
– ธนาคารความดี  -จัดพิธีเปิดธนาคารความดีเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 มอบสมุดสะสมความดี โดยเชิญนายพยุง  คุ้มสุพรรณ อำเภอชาติตระการ เป็นประธานเปิดธนาคาร ทำให้ประชาชนมีความสนใจมากขึ้น    ดำเนินกิจกรรมออมวันแม่ถึงวันพ่อ ให้สมาชิกนำกระบอกไม้ไผ่ทำออมสินและมาหยอดเพื่อออมเงินพร้อมกันในวันแม่ และจะมาผ่าพร้อมกันในวันพ่อเพื่อนำฝากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมให้กับสมาชิก

ขั้นตอนที่ ๕ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทางเดิน
-จัดประชุมสมาชิก พบปัญหา คือ ระยะเวลาเร่งรัดเกินไปควรประชาสัมพันธ์และค่อยๆดำเนินกิจกรรมเพื่อสะสมความ ดี ควรให้คนในหมู่บ้านพร้อมมากกว่านี้  ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังไม่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ควรประชาสัมพันธ์ทุกเดือนประมาณ ๖ เดือนจึงจัดตั้งให้ประชาชนเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญก่อน ,การจัดหาทุนมีจำกัดไม่มีมากพอใช้ดำเนินงานยังไม่สามารถกำหนดสิ่งของที่จะนำ ความดีมาแลกได้ เมนูความดีควรให้อิสระกับหมู่บ้านได้เลือกเองไม่ควรกำหนดให้เพราะบางข้ออาจ ไม่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน ระยะเวลาทางส่วนราชการเร่งหมู่บ้านมากเกินไปทางหมู่บ้านมีกิจกรรมมาก

ขั้นตอนที่ ๖ หมู่บ้านที่มีกิจกรรมเด่น
– กิจกรรมจัดตั้งธนาคารความดี  ต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจ และต้องมีสิ่งจูงใจที่ชัดเจนให้มากขึ้น ถ้าทำได้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทั้งของหมู่บ้าน และประชาชน

ขั้นตอนที่ ๗ ประเมิน/ถอดบทเรียน
– ประเมินความสุข  (หลัง) ปรอทความสุขได้ระดับ 89 เพิ่มขึ้น ๑0 (ใยแมงมุม๔.71 เพิ่มขึ้น ๐.15)

เทคนิค กลเม็ด เคล็ดลับ ข้อพึงระวัง

– ใช้วิธีออกคำสั่งและหนังสือสำหรับประสานหน่วยงานภาคีและการดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้านเป้าหมาย
-จัดประชุมภาคีสร้างความรู้ความเข้าใจในผลที่จะเกิดขึ้นประโยชน์ร่วมกัน
-จัดประชุมประชาชนในหมู่บ้านประชาสัมพันธ์ขายความคิด
-ควรกำหนดรูปแบบและขั้นตอน วิธีการที่ชัดเจน หลากหลายวิธี ให้อำเภอเป็นแนวทางได้เลือกทำให้เหมาะสมกับพื้นที่

– การจดบันทึกสมุดสะสมความดี ต้องใช้กรรมการหลาย ๆ ช่วยกัน เพราะสมาชิกมีจำนวนมาก ลงชื่อในสมุดไม่ทัน สำหรับใบนำฝากต้องถ่ายเอกสารจำนวนมาก หมู่บ้านจึงใช้วิธีการลงชื่อแทน เมื่อกรรมการลงคะแนนและลายมือชื่อในสมุดแล้วจะคืนให้ภายหลัง

-เงิน ทุน สาธารณะประโยชน์ของกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้านหมดไปแล้ว จึงยังไม่มีเงินทุน การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ให้เก็บสะสมคะแนนไปก่อน หากไม่มีเงินทุนจริง จะจัดทำใบประกาศยกย่องคนดี มอบใบวันประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านต่อไป

– ระยะเวลาในการทำงานมีระยะเวลาจำกัดทำให้เร่งผลงานซึ่งตรงกับที่จะต้องประกอบ อาชีพหลักในฤดูฝนหากทิ้งอาชีพหลักก็จะขาดรายได้และอาจไม่เข้าร่วมกิจกรรมได้
– กิจกรรมงานศพปลอดเหล้า  เป็นกิจกรรมที่ทำยากมาก เพราะชาวบ้านชนบทยังดื่มเหล้ากันอยู่ แต่ไม่เสียงาน เพราะฉะนั้น กิจกรรมนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป และต้องทำความเข้าใจอีกมาก

-กิจกรรม ขับขี่ปลอดภัย การริบกุญแจ ข้อพึงระวังต้องจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น ตั้งจุดตรวจเมาไม่ขับ เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนยอมรับกิจกรรม เพราะหากปล่อยให้แม่บ้านดำเนินการ โดยที่สังคมไม่ร่วมด้วย จะไม่เห็นผล

-กิจกรรมธนาคารความดี เป็นกิจกรรมที่ดีมาก เพราะฉะนั้น ต้องทำความเข้าใจกับประชาชน และต้องมีผลประโยชน์ร่วมกัน จึงจะเป็นที่ยอมรับ

ใส่ความเห็น