การจัดการความรู้ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

07

ชื่อ-นามสกุล     นางสาวช่อเพชรรัดดา ปานโท้

ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

วันที่บันทึกข้อมูล   10 สิงหาคม 2557

สถานที่ บ้านขวดน้ำมัน หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

เนื้อเรื่อง         

กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชนบทมีวิถีชีวิตบนความพอ ประมาณ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อการเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและภายนอก โดยการใช้ความรู้อย่างมีเหตุผล คู่กับคุณธรรมเป็นเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตโดยดำเนินการพัฒนาหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗   ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน โครงการเพิ่ม

ประสิทธิภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบขึ้น เพื่อรักษาสถานะและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปีที่ผ่านมาให้มีความพร้อมและสามารถเป็นหมู่บ้านตัวอย่างได้ และผ่านเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มีระดับความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) เพิ่มขึ้น ได้ดำเนินการ ๒ กิจกรรม รวม ๒ วัน ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การทบทวนผลการพัฒนาหมู่บ้าน และกิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

การเพาะเห็ดนางฟ้า และการปลูกผัก วันที่ 23 ธันวาคม 2556

กิจกรรมที่ 2 การเตรียมการขยายผลสู่บ้านน้อง กิจกรรมการจัดการความรู้โดยการสร้างความรู้เรื่องวิธีปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาบุคคล พัฒนากลุ่มพัฒนาเครือข่าย หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบจัดการความรู้ตัวแทนครอบครัวพัฒนาและผู้มีส่วนในการดำเนินกิจกรรม จัดทำเอกสารความรู้ ๑ ชุด เพื่อเป็นชุดความรู้ในการขยายผลและฝึกวิทยากรประจำจุดเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ พร้อมรับการศึกษาดูงานจากผู้สนใจ วันที่ 20 มีนาคม 2557

บทเรียนจากการทำงาน การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรต้องมีความรู้/ประสบการณ์มาก ล้ำลึก รู้จริง มีความเชื่อมั่นศรัทธา ความพร้อมของแกนนำครอบครัวต้องคัดเลือกคนที่มีเวลาและความร่วมมือดีจะช่วยให้งานสำเร็จมากขึ้น สามารถขยายผลให้กับครอบครัวอื่นได้ดี สื่ออุปกรณ์การนำเสนอจะต้องดีมีอย่างเพียงพอพร้อมกับการใช้งาน
กลเม็ดเคล็ดลับ การพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อได้ พฤติกรรมหรือการกระทำก็จะไม่เปลี่ยน สิ่งที่จะต้องทำคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ได้

ความแตกต่างที่เกิดขึ้น

1) ได้มีการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น
2) มีการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลว เพราะยังไม่รู้ตนเองว่าอะไรเหมาะสมกับตนเองหรือหมู่บ้าน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

การปรับใจ เปลี่ยนมุมมอง ตระหนักในความจำเป็นที่ต้องใช้ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเชื่อมั่น ยืนหยัด ไม่หวั่นไหวต่อกระแสบริโภคนิยม ครัวเรือนจะต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับใช้ได้ ต้องลงมือทำด้วยตนเองจนประสบผลสำเร็จจึงจะน่าเชื่อถือสามารถบอกคนอื่นทำตาม ได้ ต้องเริ่มทีละขั้นทีละตอนต้องใจเย็น และสถานที่ดูงานถือว่าสำคัญมากต้องคัดเลือกแหล่งดูงานที่มีคุณภาพให้สามารถ เรียนรู้ได้มากที่สุดจะช่วยเสริมการปรับเปลี่ยนความคิดได้มาก

ข้อสังเกต

๑.  วิทยากรกระบวนการจะต้องแสดงบทบาทของผู้เอื้ออำนวยกระตุ้นให้ผู้ร่วมโครงการคิดเองไม่ชี้นำ

๒.  วิทยากรกระบวนการต้องเข้าใจองค์ประกอบของตัวชี้วัดให้ลึกซึ้งครบถ้วนทุกประเด็น เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการ

กลยุทธ์ในการทำงาน

๑.  การสร้างบรรยากาศความน่าเชื่อถือ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง และชุมชน

๒.  การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์กระตุ้นความคิดให้กับชุมชน

๓.  ใช้หลักประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม

๔.  มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ใส่ความเห็น