เศรษฐกิจพอเพียง

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ (ปี 2556)

บ้านขวดน้ำมัน หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

สถานการณ์และความเป็นมาและมูลเหตุจูงใจในการก่อให้เกิดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการขับเคลื่อนแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมพัฒนาให้หมู่บ้าน/ชุมชน นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เป็นวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยการเพิ่มศักยภาพของผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนแก้ไขปัญหาของชุมชนผ่านกระบวนการแผนชุมชน เชื่อมโยงกับแหล่งงบประมาณให้การสนับสนุนแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ และส่งเสริมให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทุนชุมชนให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ประชาชน ลดการพึ่งพาทุนจากภายนอก ตลอดจนส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ภายไต้แนวทางการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชาติตระการ ได้ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบตั้งแต่ ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เป็นหมู่บ้าน/ชุมชน ต้นแบบของอำเภอฯ สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดแนวคิด กิจกรรมตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ และเพื่อให้เกิดการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเป้าหมาย สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการ /ขั้นตอนในการดำเนินงาน ในปี พ.ศ. 2556

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงต้นแบบ “พออยู่ พอกิน” งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) ได้ดำเนินการ ๕ กิจกรรม รวม ๘ วัน ดังนี้

ก่อนวันจัดทำโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2556 ได้ดำเนินการ ดังนี้

วันที่ 7 มกราคม 2556  

1) ประชุมแกนนำและประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

2) ประชาคมคัดเลือกผู้นำ/ผู้นำกลุ่ม และผู้แทนครอบครัวพัฒนาเป้าหมาย จำนวน 30 คน

image001กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง”พออยู่ พอกิน”
1.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนาผู้แทนครอบครัวพัฒนา ให้การเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 30 คน วันที่ 28 มกราคม 2556

image003image007image005 image009

1.2 ครอบครัวพัฒนาได้ไปศึกษาดูงาน 2 วัน ผู้แทนครอบครัวพัฒนาศึกษาดูงาน ดังนี้

  • ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คุณสุพจน์ โคมณี อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ และ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ผู้นำวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง นายธีรพันธ์ บุญบาง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านเนินน้ำเย็น ต.หนองบัว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ 1 งานพอเพียง 1 ไร่แก้จน วันที่ 29 มกราคม 2556

image011image015

image019image021 image023 image025

  • หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านหัวทุ่ง ม.3 ต.บ้านเสี้ยว อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ วันที่ 30 มกราคม 2556
  • image027image031image029image033

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนชีวิต ของครัวเรือน วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556

image035image037

กิจกรรมที่ 3 สาธิตกิจกรรมการดำรงชีวิตตามแนววิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
– การสาธิตและฝึกปฏิบัติ กิจกรรมที่ 1 การเพาะเลี้ยงกบ วันที่ 23 เมษายน 2556
– สาธิตและฝึกปฏิบัติ กิจกรรมที่ 2 การทำเตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ วันที่ 23 เมษายน 2556

– สาธิตกิจกรรมการดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การทำน้ำหมักชีวิภาพ วันที่ 24 เมษายน 2556

image041

image051

กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างระบบบริหารจัดการชุมชนและการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เรื่องกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดิน

กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมการจัดการความรู้การดำเนินการและการเตรียมเป็นหมู่บ้านต้นแบบ เพื่อติดตามและประเมินผล
ความสุขมวลรวมของชุมชน วันที่ 18 มิถุนายน 2556

image060image061

***********************************

การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2557


           ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบขึ้น เพื่อรักษาสถานะและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปีที่ผ่านมาให้มีความ พร้อมและสามารถเป็นหมู่บ้านตัวอย่างได้ และผ่านเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มีระดับความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน(Gross Village Happiness : GVH) เพิ่มขึ้น ได้ดำเนินการ ๒ กิจกรรม รวม ๒ วัน ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การทบทวนผลการพัฒนาหมู่บ้าน และกิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง
การเพาะเห็ดนางฟ้า และการปลูกผัก วันที่ 23 ธันวาคม 2556

image065image063image069image067image075 image077 image079 image081 image083 image085image073 image071

image091 image093

 

กิจกรรมที่ 2 การเตรียมการขยายผลสู่บ้านน้อง กิจกรรมการจัดการความรู้โดยการสร้างความรู้เรื่องวิธีปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาบุคคล พัฒนากลุ่มพัฒนาเครือข่าย หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบจัดการความรู้ตัวแทนครอบครัวพัฒนาและผู้มี
ส่วนในการดำเนินกิจกรรม จัดทำเอกสารความรู้ ๑ ชุด เพื่อเป็นชุดความรู้ในการขยายผลและฝึกวิทยากรประจำจุดเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ พร้อมรับการศึกษาดูงานจากผู้สนใจ วันที่ 20 มีนาคม 2557

 

image101 image097

image099 image103 image105 image107 image109

สรุปผลการดำเนินงาน

       การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระบบ บริหารจัดการชุมชน มีวิธีการ หรือกระบวนการ ดังนี้

1) กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา เป็นผู้แทนครอบครัวพัฒนา ให้การเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง , การประเมินตนเองของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง,บทบาทหน้าที่แกนนำชุมชน/ครอบ ครัว,ตัวชี้วัดความสุขมวลรวม
3) ผู้แทนครอบครัวพัฒนา ศึกษาดูงานประสบการณ์การพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ
4) กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการฝึก ปฏิบัติการจัดทำแผนชีวิตของครัวเรือน สรุปบทเรียนจากการศึกษาดูงาน, การวิเคราะห์ตนเองและครอบครัว, การจัดทำบัญชีรับ-จ่าย, การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง
5) กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ประชุมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนา/สาธิตกิจกรรมการดำรงชีวิตตามแนววิถีชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นกิจกรรมตามความสนใจความต้องการของชุมชน
6) กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างระบบบริหารจัดการชุมชนและการเรียนรู้เรื่องการพัฒนา ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน ชุมชนต้องเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการหมู่บ้าน การปกครอง การบริหารจัดการคุ้ม การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถเรียนรู้จากสื่อหมู่บ้านฯต้นแบบที่ประสบความสำเร็จแล้ว
บทเรียนจากการทำงาน

การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรต้องมีความรู้/ประสบการณ์มาก ล้ำลึก รู้จริง มีความเชื่อมั่นศรัทธา ความพร้อมของแกนนำครอบครัวต้องคัดเลือกคนที่มีเวลาและความร่วมมือดีจะช่วยให้งานสำเร็จมากขึ้น สามารถขยายผลให้กับครอบครัวอื่นได้ดี สื่ออุปกรณ์การนำเสนอจะต้องดีมีอย่างเพียงพอพร้อมกับการใช้งาน
กลเม็ดเคล็ดลับ การพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อได้ พฤติกรรมหรือการกระทำก็จะไม่เปลี่ยน สิ่งที่จะต้องทำคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนให้ได้
ผลการดำเนินงาน (สิ่งที่เกิดขึ้นจริง) ประกอบด้วย สถานการณ์/เงื่อนไขที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมาจากการพัฒนาหมู่บ้านที่ผ่านมาหมู่บ้านได้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องโดยการส่งเสริมให้ประชาชนลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ จากการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ไว้กินเหลือจากกินนำไปขาย ส่งเสริมให้ประชาชนจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยสมาชิกที่ยืมเงินโครงการ กข.คจ. หรือกู้เงินกองทุนหมู่บ้าน ต้องจัดทำบัญชีครัวเรือนทุกคน เกิดกลุ่มอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว เช่น กลุ่มทำไม้กวาด กลุ่มทอผ้า เป็นต้น
ด้านการดูแลสุขภาพอนามัย มี อสม.ตรวจสุขภาพให้ประชาชนเป็นประจำ โดย อสม. ๑ คน จะรับผิดชอบครัวเรือน ๑๐ ครัวเรือน มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยการกินผักปลอดสารพิษ

ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญ
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศานาพุทธ จะไปทำบุญตักบาตรทุกวันพระ และวันสำคัญต่างๆ งานประจำปีของหมู่บ้านที่ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันเป็นประจำทุกปี งานแห่ต้นดอกไม้   แห่ต้นผึ้ง แห่ธง ประชาชนจะร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความสามัคคี

ด้านการบริหารจัดการชุมชน

มีการจัดทำแผนชุมชน โดยนำข้อมูล จปฐ. มาวิเคราะห์ปัญหาในหมู่บ้านเพื่อมากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาหมู่บ้านตามปัญหาและความต้องการของประชาชน การจัดกิจกรรมวันที่ ๕ ธันวาคม และ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี โดยจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร พัฒนาหมู่บ้าน และปลูกต้นไม้เพื่อเทิดพระเกียรติ

ด้านความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการจัดเวรยามดูแลหมู่บ้าน

บทเรียนหรือวิธีปฏิบัติที่ดีขึ้นในการดำเนินงาน(วิเคราะห์/สังเคราะห์)
   1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านมีมากขึ้น จะเห็นได้จาก การประชุม หรือการพัฒนาหมู่บ้าน หรือวันสำคัญต่างๆ
2) มีการเรียนรู้และยึดถือปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ปลูกผักกินเอง แบ่งปันเพื่อนบ้าน ทำปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้เอง , ทำเตาถ่านน้ำส้มควันไม้, เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาไว้กินเอง,การถนอมอาหาร เป็นต้น
3) มีการประชุมในหมู่บ้านเป็นประจำทุกเดือน
4) ผู้นำและคนในชุมชน มีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การร่วมมือกันรักษาวิถีการลงแขกเพื่อลดการใช้จ่ายเงินเป็นค่าจ้างแรงงาน
5) มีการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน
6) มีกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน

– การทำน้ำยาเอนกประสงค์ต่าง ๆ นางสุวรรณา   สิงห์คำ

– เลี้ยงกบ   เลี้ยงปลา ปุ๋ยคอก เตาประหยัดพลังงาน นายมิตร   บุตรคต

– เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ นายสมจิตร   จันทะคุณ

– ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา ไร่นาสวนผสม   นายบุญถึง จันทะคุณ

– ปุ๋ยหมักชีวภาพ นางปราณี วงด้วง

– เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้   ผักสวนครัว นายประดิษฐ์   มโนทน

– เลี้ยงหมู   ทำไม้กวาด ทอผ้า  นางละมาย   ดีธงทอง

– กลุ่มทำไม้กวาดบ้านขวดน้ำมัน คือ นางทิพย์   ทำนา

– มะนาวพันธุ์ดี   (แป้นพิจิตร) นายพรม ศิริ

– ปลูกกาแฟ   ต้นโอ๊ค ถั่วอินคา   นายสงกาน แจ้งสว่าง

– จักสานไม้ไผ่   นายทองอินทร์   แตงอ่อน

– ผักปลอดสารพิษ   นายวิเชียร   เมืองซ้าย

– แปรรูปอาหาร ขิงดอง สับปะรดกวน มะขามกวน มะม่วงดอง หน่อไม้อัดถุง หน่อไม้ดอง นางกัญจนา   แสนอิน

7) มีกิจกรรมจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด

8) จัดตั้งธนาคารความดี

จุดเด่นของหมู่บ้าน คือ
     1) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ กิจกรรมลงแขกในการประกอบอาชีพ (ทำนาข้าว, ปลูกข้าวโพด และอื่นๆ) เพื่อไม่ต้องใช้เงินจ้างกัน ใช้แรงงานแลกกัน

2) ด้านเศรษฐกิจชุมชน ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้ ด้วยกิจกรรมการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้มากขึ้น ได้แก่
– การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำหน่อไม้ดอง, ขิงดอง, การทำน้ำกระทอนแทนน้ำปลา
– กิจกรรมปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือน, ลดการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ, การทำเครื่องจักสานใช้เอง, เผาถ่านใช้เอง

3) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น ได้แก่ กิจกรรมวันสงกรานต์มีการจัดรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ,การแห่ต้นดอกไม้, การแห่ต้นผึ้ง, การแห่ธง เป็นต้น

ความแตกต่างที่เกิดขึ้น
   1) ได้มีการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น
2) มีการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลว เพราะยังไม่รู้ตนเองว่าอะไรเหมาะสมกับตนเองหรือหมู่บ้าน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
     การปรับใจ เปลี่ยนมุมมอง ตระหนักในความจำเป็นที่ต้องใช้ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเชื่อมั่น ยืนหยัด ไม่หวั่นไหวต่อกระแสบริโภคนิยม ครัวเรือนจะต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับใช้ได้ ต้องลงมือทำด้วยตนเองจนประสบผลสำเร็จจึงจะน่าเชื่อถือสามารถบอกคนอื่นทำตาม ได้ ต้องเริ่มทีละขั้นทีละตอนต้องใจเย็น และสถานที่ดูงานถือว่าสำคัญมากต้องคัดเลือกแหล่งดูงานที่มีคุณภาพให้สามารถ เรียนรู้ได้มากที่สุดจะช่วยเสริมการปรับเปลี่ยนความคิดได้มาก
ข้อเสนอเพื่อการพัฒนางานในครั้งต่อไป
ข้อเสนอแนะ
   – ควรมีการสนับสนุนกิจกรรมของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป ได้แก่ ด้านการตลาด/ การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบที่สามารถปรับทัศนคติได้จริง
อุปสรรค
   – กลุ่มที่ตั้งขึ้นยังไม่เข้มแข็ง (เนื่องจากสมาชิกกลุ่ม/กรรมการมีภารกิจอาชีพหลัก)
– ผลิตภัณฑ์บางชนิดจำหน่ายไม่ได้
– กิจกรรมไม่ต่อเนื่อง สมาชิกบางคนยังมีความคิดแบบเดิมๆ ซึ่งกระบวนการปรับความคิดจึงมีความสำคัญยิ่ง
ที่ควรทำเพิ่มเติมจากที่ผ่านมา
 – การพัฒนาบรรจุภัณฑ์/ตัวผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ/การทำฉลากสินค้า
– สมาชิกต้องรวมตัวกันทำกิจกรรมอย่างจริงจัง/ต่อเนื่อง
– การขยายตลาด
ความพึงพอใจสิ่งที่ควรทำเพิ่มเติมจากที่ผ่านมา
    อยู่ในระดับมาก เพราะได้รับความรู้เรื่องแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาปรับใช้ในชีวิตตนเองประจำวัน ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดรายจ่าย เช่น ปลูกผักกินเอง/ ทำปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เป็นต้น

 

*********************************

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใส่ความเห็น